วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

ระบบการจัดการฐานข้อมูล

ระบบการจัดการฐานข้อมูล
ระบบการจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management System) คุณสมบัติของระบบจัดการฐานข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ต้องมีการใช้งานทรัพยากรของคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีความเร็วในการตอบคำถามที่ผู้ใช้ถามอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (โดยปกติมักจะหมายถึงตอบทันทีทันใด) ต้องมีความเข้ากันได้กับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และข้อมูลที่มีใช้งานอยู่เดิม เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงให้เหลือน้อยที่สุด ต้องสามารถทำการเพิ่มหรือลบเรคคอร์ดของข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพรวมทั้งจะต้องยืดหยุ่นพอที่จะจัดการกับการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลในฐานข้อมูล ต้องให้ความสะดวกับผู้ใช้ในการเรียกใช้งานฐานข้อมูล เช่น มีภาษาในการสอบถามข้อมูล (query language) รวมอยู่ด้วย ต้องมีระบบรักษาความถูกต้องของข้อมูลโดยการสำรองข้อมูล รวมทั้งป้องกันผู้ใช้จากการทำงานผิดพลาดต่าง ๆ ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูลในฐานข้อมูลนั้น เช่น มีคุณสมบัติการตรวจสอบ และรหัสพิเศษในการเข้าใช้งานภาษาอธิบายข้อมูล (Data Definition Language) นิยมเรียกว่า ดีดีแอล (DDL) จะเป็นภาษาที่ใช้ในการอธิบายถึง โครงสร้าง (schema)ของข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูล โดยภายในโครงสร้างนี้ แต่ละฟิลด์ในเรคคอร์ดจะมีการกำหนดชื่อความยาว และชนิดของข้อมูล นอกจากนี้ดีดีแอล ยังใช้ในการอธิบาย โครงสร้างย่อย (subshemas)ซึ่งกำหนดฟิลด์ที่ผู้ใชสามารถเรียกใช้งานได้ และผู้ใช้แต่ละคนจะสามารถเข้าถึงโครงสร้างย่อยที่แตกต่างกันไป ทำให้สามารถใช้ป้องกันข้อมูลที่เป็นความลับได้ภาษาสอบถามข้อมูล (query language) ภาษาในการสอบถามข้อมูลเชิงคำสั่ง (command-oriented query language)เป็นภาษาที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อใช้กับงานการจัดการข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูล จะมีลักษณะการใช้งานคล้ายกับการใช้ภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องมีความรู้ทางคอมพิวเตอร์สูงมากนักก็สามารถเรียกใช้ได้โดยสะดวกโดยทั่วไปมีคำสั่งหลัก ๆ ดังนี้คำสั่ง วัตถุประสงค์ INSERT RECORD เพิ่มข้อมูลชุดใหม่ลงในไฟล์ DELETE RECORD ลบข้อมูลชุดหนึ่งออกจากไฟล์ SELECT เลือกข้อมูลชุดที่ต้องการ PROJECT เลือกฟิลด์ที่ต้องการ JOIN
http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Database/database3.htm


ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) หรือที่เรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (DBMS)เป็นกลุ่มโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในระบบติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล เพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้องความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูล ซึ่งต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่หน้าที่เหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ ในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการใช้คำสั่งในกลุ่มดีเอ็มแอล (DML) หรือ ดีดีแอล (DDL) หรือจะด้วยโปรแกรมต่างๆ ทุกคำสั่งที่ใช้กระทำกับข้อมูลจะถูกดีบีเอ็มเอสนำมาแปล (คอมไพล์) เป็นการปฏิบัติการ (Operation) ต่างๆ ภายใต้คำสั่งนั้นๆ เพื่อนำไปกระทำกับตัวข้อมูลภายในฐานข้อมูลต่อไปสำหรับส่วนการทำงานตางๆ ภายในดีบีเอ็มเอสที่ทำหน้าที่แปลคำสั่งไปเป็นการปฏิบัติการต่างๆ กับข้อมูลนั้นประกอบด้วยส่วนการปฏิบัติการดังนี้ ..หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูลแปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบที่ฐานข้อมูลเข้าใจนำคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้ว ไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้ (Retrieve) จัดเก็บ (Update)ลบ (Delete) เพิ่มข้อมูล (Add) เป็นต้นป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้ และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำงานได้รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอเก็บรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลไว้ในพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้มักจะถูกเรียกว่า เมทาดาตา (MetaData) ซึ่งหมายถึง "ข้อมูลของข้อมูล"ควบคุมให้ฐานข้อมูลทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
http://www.thaiall.com/mis/mis07.htm

ลักษณะการจัดสารสนเทศที่ดี


สมัยก่อน ในศูนย์คอมพิวเตอร์จะเห็นภาพผู้คนนั่งเจาะบัตรคอมพิวเตอร์ให้เป็นรหัสทั้งส่วนที่เป็นข้อมูลหรือโปรแกรม การทำงานในสมัยนั้นส่วนใหญ่ใช้การประมวลผลแบบกลุ่ม โดยนำข้อมูลเก็บไว้ในเทปบันทึก แล้วนำมาประมวลผล เพื่อทำรายงานตามความต้องการ การทำงานในลักษณะประมวลผลแบบกลุ่มก็ยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบันโดยเฉพาะงานวิจัย การแจ้งผลสอบผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของธนาคาร ต้องมีการค้นหาข้อมูลผลสอบ และตอบให้ทราบทันทีทั้งที่เป็นระบบเสียงพูดและระบบแสดงผลบนจอภาพ เป็นตัวอย่างที่แสดงว่า การทำงานกับระบบฐานข้อมูลเริ่มมีความจำเป็นจะต้องมีการประมวลผลผ่านสายโทรศัพท์ที่เรียกว่า การประมวลผลแบบเชื่อมตรง การประมวลผลแบบนี้ มีการเรียกค้นหาข้อมูลและปรับปรุงแก้ไขข้อมูลได้ตลอดเวลา จึงนิยมใช้กันแพร่หลายมากขึ้นต่อมาไมโครคอมพิวเตอร์ได้เป็นที่นิยม โดยมีขีดความสามารถทางด้านความจุข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ (hard disk) เพิ่มขึ้นในขณะที่ราคาลดลง และมีโปรแกรมสำเร็จเกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูลที่ใช้ง่าย ๆ เกิดขึ้นหลายโปรแกรม แนวโน้มการใช้งานประมวลผลข้อมูลด้วยไมโครคอมพิวเตอร์จึงเป็นที่นิยมมากขึ้น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา วิธีจัดการฐานข้อมูลก็ได็รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ การจัดการฐานข้อมูลจึงเป็นศาสตร์ที่มีการศึกษาเล่าเรียนกันในหลาย ๆ ระดับ การจัดการฐานข้อมูลจะยึดหลักการที่สำคัญคือ1) ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม โดยกระจายอยู่ในหลาย ๆ แฟ้ม มักจะพบปัญหาของการปรับแก้ไขข้อมูล เพราะต้องคอยปรับปรุงข้อมูลให้ครบทุกแฟ้ม มิฉะนั้นจะพบกับปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูล ซึ่งทำให้การบริหารข้อมูลทำได้ยากข้อมูลจึงควรได้รับการออกแบบและเก็บอยู่ในฐานข้อมูลที่ใดที่เดียว เพื่อลดความซ้ำซ้อน ในการกำหนดรูปแบบข้อมูลจะต้องทำให้ข้อมูลทั้งฐานข้อมูลเป็นรูปเดียวกัน เช่น การกำหนดข้อมูลชื่อ ให้ใช้ชื่อแล้วเว้นช่องว่างจึงเป็นนามสกุล และมีตำแหน่งต่อท้ายแทนการขึ้นต้น เช่น พ.ท. สมชาย ดีใจ เก็บเป็น สมชาย ดีใจ พ.ท. เป็นต้น เมื่อมีการกำหนดรูปแบบข้อมูลที่ชัดเจน และถือปฏิบัติใช้ทั้งฐานข้อมูลก็จะลดปัญหาการจัดการฐานข้อมูลลงไปได้มาก ทำให้ข้อมูลเป็นกลางและใช้ร่วมกันได้ นอกจากนี้ยังมีหลายสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลในฐานข้อมูล ซึ่งจะต้องคำนึงถึงในการออกแบบฐานข้อมูล ข้อมูลจะต้องใช้งานได้กับผู้ใช้หลาย ๆ ประเภท หรือหลายแบบ เช่น ข้อมูลในฐานข้อมูลของจังหวัด จะต้องใช้ได้ทุกอำเภอ ความต้องการข้อมูลของแต่ละหน่วยงานอาจมีรายละเอียดที่ต่างกัน เช่น แผนกขายต้องการชื่อที่อยู่ของลูกค้าเพื่อติดต่อส่งเสริมการขาย แผนกติดตามหนี้ต้องการได้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติหนี้ค้างของลูกค้าaaaaaการเรียกชื่อข้อมูล อาจจะเรียกแตกต่างกัน เช่น ชื่อสินค้า อาจเรียกได้หลายอย่างในชื่อสินค้าเดียวกัน2) กำหนดมาตรฐานข้อมูล ในการสร้างฐานข้อมูลจะต้องให้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นมาตราฐาน มีการกำหนดรหัสที่เป็นมาตราฐาน มีการกำหนดคำหลัก (keyword) หรือค่าที่ใช้แทนข้อมูลอย่างเดียวกันเพื่อให้ได้ความหมายต่อการใช้งานที่ดี3) มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลจำเป็นต้องจัดแบ่งระดับความสำคัญของข้อมูลเพื่อกำหนดผู้ใช้ มีการควบคุมข้อมูล เพื่อบ่งบอกว่าใครจะเป็นผู้แก้ไขหรือข้อมูลได้บ้าง มีการบันทึกประวัติการแก้ไขข้อมูลเพื่อตรวจสอบ ข้อมูลที่จัดเก็บนั้นอาจมีความสำคัญ ดังนั้นการแก้ไขหรือปรับปรุงข้อมูลโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้นอาจทำให้ข้อมูลเสียหายได้4) มีความเป็นอิสระจากโปรแกรม ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ดีจะต้องเป็นระบบที่ข้อมูล และฐานข้อมูลมีความเป็นอิสระจากโปรแกรม ทำให้สามารถใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลใด ๆ จัดการฐานข้อมูลได้ การออกแบบให้ข้อมูลเป็นอิสระนี้ทำให้ข้อมูลใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกรูบแบบ5) รวมข้อมูลเป็นฐานข้อมูลกลาง แต่เดิมมีการเก็บข้อมูลแยกเป็นแฟ้มกระจัดกระจาย จึงต้องเก็บข้อมูลด้วยเทป แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันเป็นฐานข้อมูลกลาง ทำให้ระบบการทำงานใช้ข้อมูลร่วมกันได้การดำเนินงานฐานข้อมูลจะต้องมีการจัดการเตรียมฐานข้อมูลและบริหารข้อมูล โดยจัดแบ่งแยก ปรับปรุงข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องหน้าที่หลักของผู้บริหารฐานข้อมูล จึงประกอบด้วยการจัดเก็บข้อมูล การติดต่อประสานงานกับแหล่งข้อมูลและที่มาของข้อมูล จึงประกอบด้วยการจัดเก็บข้อมูล การติดต่อประสานงานกับแหล่งข้อมูลและที่มาของข้อมูลตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล แบ่งกลุ่ม จัดลำดับ กำหนดรหัสข้อมูล สรุปผลทำรายงาน คำนวณเก็บรักษาข้อมูลโดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและเชื่อถือได้ของข้อมูล การค้นหาข้อมูล การสำรวจข้อมูล และเผยแพร่แจกจ่ายข้อมูล

ระดับของสารสนเทศ

ระดับของสารสนเทศ
ระดับของสารสนเทศสารสนเทศมี 3 ระดับ ดังนี้1. ระดับบน เป็นสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงขององค์การที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกับแผน นโยบาย พันธกิจ เป้าประสงค์ เป้าหมายและกลยุทธ์ขององค์การ2. ระดับกลาง เป็นสารสนเทศสำหรับผู้จัดการ หรือผู้บริหารระดับกลางขององค์การที่มีการแปลงกลยุทธ์ ที่จะนำ ไปสู่การบรรลุเป้าหมายขององค์การ โดยแปลงกลยุทธ์ออกมาเป็นแนวปฏิบัติ หรือแผนปฏิบัติงาน หรือกิจกรรมต่างๆ3. ระดับล่าง เป็นสารสนเทศของผู้ปฏิบัติงานที่มีกรรมวิธีการดำเนินงาน หรือการปฏิบัติงานตามแนวทางที่ได้ มีการกำหนด โดยผู้บริหารระดับกลาง
bankcom.blogspot.com/2008/01/blog-post_21.html

ระดับสารสนเทศจากความสำคัญของสารสนเทศ และการหาหนทางที่จะใช้เทคโนโลยีในการจัดการสารสนเทศ ใน พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยประกาศอย่างเป็นทางการให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของระบบข้อมูลซึ่งมีเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเป็นตัวนำ และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและผลักดันให้เกิดการใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านทรัพยากรมนุษย์ วัสดุอุปกรณ์ และเวลา ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รัฐบาลได้ลงทุนโครงการพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นจำนวนมาก เช่น การขยายระบบโทรศัพท์ การขยายเครือข่ายสื่อสาร การสร้างระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ และระบบการจัดเก็บภาษีและศุลกากรด้วยคอมพิวเตอร์ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่ให้ความสำคัญเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ หลายประเทศทั่วโลกก็ได้ให้ความสำคัญเช่นกัน และแต่ละประเทศได้ลงทุนทางด้านนี้ไปเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพราะข้อมูลเป็นกลไกสำคัญในเชิงรุก เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้สามารถแข่งขันในระดับสากลได้ อีกทั้งยังเพิ่มคุณภาพชีวิต กระจายความเจริญสู่ชนบท และสร้างความเสมอภาคในสังคม สังคมความเป็นอยู่และการทำงานของมนุษย์มีการรวมกลุ่มเป็นประเทศ การจัดองค์การเป็นหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน และภายในองค์การต้องมีการแบ่งย่อยกันเป็นกลุ่ม เป็นแผนก เป็นหน่วยงาน ภายในหน่วยงานย่อยก็มีระดับบุคคล การทำงานในระบบองค์การหนึ่ง ๆ จะมีความซับซ้อนพอควร ตัวอย่าง เช่น องค์การระดับโรงเรียน ตั้งแต่นักเรียนมอบตัวเข้าเป็นนักเรียนของโรงเรียน จะมีการเก็บบันทึกข้อมูลประวัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตัวนักเรียน เมื่อลงทะเบียนเรียนวิชาต่าง ๆ ก็มีการบันทึกเก็บข้อมูลมีการชำระเงินค่าลงทะเบียน มีการายงานผลการเรียน องค์การระดับโรงเรียนจึงมีข้อมูลมากมายเกี่ยวข้องกับนักเรียน วิชาเรียน การเงิน วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อยู่ในโรงเรียน เช่น อาคารสถานที่ และส่วนที่เชื่อมโยงกับหน่วงงานอื่นในระดับกรม และกระทรวงที่ดูแลโรงเรียนอีกด้วย ในองค์การเอกชนหรือบริษัท ไม่ว่าจะเป็นองค์การเล็กหรือใหญ่ก็ต้องเกี่ยวข้องกับสารสนเทศด้วยกันทั้งนั้น เกี่ยวข้องกับข้อมูลสินค้า ลูกค้า การค้าขาย การผลิต การว่าจ้าง และการเงิน เป็นต้น เมื่อพิจารณาระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในองค์การพอที่จะแบ่งการจัดการสารสนเทศขององค์การได้ตามจำนวนคนที่เกี่ยวข้อง ตามรูปแบบการรวมกลุ่มขององค์การได้ 3 ระดับ คือ ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม และระบบสารสนเทศระดับองค์การ ระบบสารสนเทศระดับบุคคลระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบข้อมูลที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้บุคลากรในแต่ละคนในองค์การ ระบบสารสนเทศระดับบุคคลนี้มีแนวทางในการประยุกต์ที่ช่วยให้การทำงานในหน้าที่รับผิดชอบและส่วนตัวของผู้นั้นมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดเล็กลง ราคาถูก แต่มีความสามารถในการประมวลผลด้วยความเร็วสูงขึ้น ประกอบกับมีโปรแกรมสำเร็จที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย กว้างขวางและและคุ้มค่ามากขึ้น โปรแกรมสำเร็จในปัจจุบันเริ่มมีความลงตัวและมีการรวบรวมไว้เป็นชุดโปรแกรม เช่น โปรแกรมประมวลคำ (word processing) ที่ช่วยในการพิมพ์เอกสาร โปรแกรมช่วยทำจดหมายเวียน (mail merge) โปรแกรมที่ใช้ในการจัดทำแผ่นใสเพื่อการบรรยายและทำภาพกราฟิก (presentation and graphics) โปรแกรมที่ช่วยในการทำวารสารและหนังสือ (desktop publishing) โปรแกรมตารางทำงาน (spreadsheet) โปรแกรมช่วยในการจัดเก็บและประมวลผลแฟ้มข้อมูล (database management) และโปรแกรมช่วยในการสร้างตารางการบริหารงาน (project management) เป็นต้น ชุดโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เป็นโปรแกรมที่ได้รวบรวม โปรแกรมสร้างเอกสาร โปรแกรมจัดทำแผ่นใสหรือข้อความประกอบคำบรรยายและแผ่นประกาศ โปรแกรมประมวลผลในรูปแบบตารางทำงาน โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เป็นต้น ข้อมูลที่ช่วยทำให้การทำงานของบุคลากรดีขึ้นนั้นต้องขึ้นอยู่กับหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคนต่างกันไป ตัวอย่างเช่น พนักงานขายควรมีข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเป็นอย่างดีซึ่งจะทำให้ติดต่อค้าขายได้ผลเลิศ บริษัทควรมีการเตรียมอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์เอาไว้ให้พนักงานขายได้ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า เช่น ชื่อ ที่อยู่ และความสนใจในตัวสินค้า หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่จะสนับสนุนการขาย พร้อมกับระบบที่จะช่วยพนักงานแต่ละคนในการเรียกค้นหาข้อมูลตามเงื่อนไขเพื่อวางแผน จัดการ และควบคุมการทำงานของตนเองได้ เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูลการขาย เป็นต้นระบบสารสนเทศระดับกลุ่มระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคล ที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นตัวอย่างของการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานของแผนก คำว่า การทำงานเป็นกลุ่ม (workgroup) ในที่นี้หมายถึง กลุ่มบุคคลจำนวน 2 คนขึ้นไปที่ร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน โดยทั่วไปบุคลากรในกลุ่มเดียวกันจะรู้จักกันและกันและทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ เป้าหมายหลักของการทำงานเป็นกลุ่ม คือ การเตรียมสภาวะแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยทำให้เป้าหมายของธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผล แนวทางหลักก็คือการทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันโดยเฉพาะข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐาน การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมกันเป็นเครือข่ายท้องถิ่นหรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN) ทำให้มีการเชื่อมโยงและใช้ทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสค์ และเครื่องพิมพ์ร่วมกัน ข้อมูลที่ใช้ร่วมกันในแผนกจะบรรจุไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ควบคุมการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลกลางที่เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) ถ้ามีการแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลกลางนี้โดยผู้ใช้คนใดคนหนึ่งเมื่อใด ผู้ใช้คนอื่นที่ใช้อยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ก็จะได้รับข้อมูลที่ผ่านการแก้ไขแล้วนั้นทันที การประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ในลักษณะของการทำงานเป็นกลุ่ม สามารถใช้กับงานต่าง ๆ ได้ เช่น ระบบบริการลูกค้า หรือการเสนอขายสินค้าผ่านทางสื่อโทรศัพท์ พนักงานในทีมงานอาจจะมีอยู่หลายคนและใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลกลางของลูกค้าร่วมกัน กล่าวคือ มีข้อมูลเพียงชุดเดียวที่พนักงานทุกคนจะเข้าถึงได้ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม พนักงานในกลุ่มทำงานจะต้องรับรู้ด้วย เช่น ลูกค้าโทรศัพท์มาถามคำถามหรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้า พนักงานอาจจะบันทึกข้อมูลการให้บริการหรือการนัดหมายเพื่อตอบคำถามเพิ่มเติม โดยระบบอาจจะช่วยเตือนความจำเมื่อถึงเวลาต้องโทรศัพท์กลับไปหาลูกค้า แม้พนักงานที่รับโทรศัพท์ครั้งที่แล้วจะไม่อยู่ แต่พนักงานที่ทำงานอยู่สามารถเรียกข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์ แล้วโทรกลับไปตามนัดหมาย ทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงัก เป็นต้น อันจะเป็นการเพิ่มคุณภาพการบริการ หรือเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยทางด้านการขาย ระบบสารสนเทศของกลุ่มหรือแผนกยังมีแนวทางอื่น ๆ ในการสนับสนุนการจัดการการบริหารงาน และการปฏิบัติการอีก เช่น การสื่อสารด้วยระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การประชุมผ่านเครือข่าย ซึ่งอาจจะประชุมปรึกษาหารือกันได้โดยอยู่ต่างสถานที่กัน การจัดทำระบบแผงข่าว (Bulletin Board System : BBS) ของแผนก การประชุมทางไกล (Video conference) การช่วยกันเขียนเอกสาร ตำรา หรือรายงานร่วมกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การทำตารางทำงานของกลุ่ม ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่ม ระบบจัดการฐานข้อมูลของกลุ่ม ระบบการไหลเวียนอัตโนมัติของเอกสาร ระบบการจัดการกับข้อความ ระบบการจัดตารางเวลาของกลุ่ม ระบบบริหารโครงการของกลุ่ม ระบบการใช้แฟ้มข้อความร่วมกันของกลุ่ม และระบบประมวลผลภาพเอกสาร เป็นต้น ให้สังเกตว่าโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จะมีแนวคิดของการทำงานเป็นกลุ่มด้วยเสมอ นักวิเคราะห์ทางคอมพิวเตอร์หลายท่านถึงกับกล่าวว่า ปัจจุบันน่าจะเป็นปีของการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นกลุ่ม (workgroup compuing) โดยโปรแกรมระดับบุคคลเริ่มอยู่ตัว จึงเริ่มขยับตัวเองสูงขึ้นไปรองรับงานแบบกลุ่ม คงจะได้เห็นโปรแกรมสำเร็จที่มีความเหมาะสมมากขึ้นสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ทำงานเป็นกลุ่มในอนาคตอันใกล้นี้ระบบสารสนเทศสระดับองค์การระบบสารสนเทศระดับองค์การ คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนงานขององค์การในภาพรวม ระบบในลักษณะนี้จะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก โดยการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและส่งผ่านถึงกันจากแผนกหนึ่งข้ามไปอีกแผนกหนึ่งได้ ระบบสารสนเทศดังกล่าวนี้จึงสามารถสนับสนุนงานการใช้ข้อมูลเพื่อการบริหารงานในระดับผู้ปฏิบัติการ และสนับสนุนงานการบริหารและจัดการในระดับที่สูงขึ้นได้ด้วย เนื่องจากสามารถให้ข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการตัดสินใจ โดยอาจนำข้อมูลมาแสดงในรูปแบบสรุป หรือในแบบฟอร์มที่ต้องการได้ บ่อยครั้งที่การบริหารงานในระดับสูงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลร่วมกันจากหลายแผนกเพื่อประกอบการตัดสินใจ ระบบการประสานงานเพื่อการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจการค้า เช่น ระบบสารสนเทศระดับองค์การในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้า โดยมีผ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในองค์การหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายการขาย ฝ่ายสินค้าคงคลัง ฝ่ายพัสดุ และฝ่ายการเงิน แต่ละฝ่ายอาจจะมีระบบข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการปฏิบัติการของฝ่ายเอง และยังมีระบบการสื่อสารหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างฝ่ายได้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลไปตามสายการเชื่อมโยง เนื่องจากจุดประสงค์ของการทำธุรกิจก็เพื่อสร้างผลกำไรให้กับบริษัท ถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างฝ่ายอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมทำให้เกิดการขายสินค้า และการตามเก็บเงินได้อย่างรวดเร็ว เช่น ทันทีที่ฝ่ายการขายตกลงขายสินค้ากับลูกค้า ก็จะมีการป้อนข้อมูลการขายสินค้าลงในระบบคอมพิวเตอร์ ฝ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องจะได้รับข้อมูลการขายนี้ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองได้อย่างต่อเนื่องทันที เช่น ฝ่ายสินค้าคงคลังจัดตรวจสอบเตรียมใบเบิกสินค้าเพื่อส่งให้ฝ่ายพัสดุได้ทันที ฝ่ายการเงินตรวจสอบความถูกต้องของการขายสินค้า แล้วดำเนินการทำใบส่งสินค้า และดูแลเรื่องระบบลูกหนี้โดยอัตโนมัติและสุดท้าย ฝ่ายพัสดุดำเนินการจัดส่งสินค้าไปให้ลูกค้าแล้ว ก็จะดำเนินการติดตามการค้างชำระจากลูกหนี้ต่อไปหัวใจหลักสำคัญของระบบสารสนเทศในระดับองค์การ คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ภายในองค์การ ที่จะต้องเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของแต่ละแผนกเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกัน นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ร่วมกันได้ด้วย ในเชิงเทคนิคระบบสารสนเทศระดับองค์การอาจจะมีระบบคอมพิวเตอร์ที่ดูแลแฟ้มข้อมูล มีการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลายระบบเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายระดับท้องถิ่น หรืออาจมีเครือข่ายระดับกลุ่มอยู่แล้ว จึงเชื่อมโยงเครือข่ายย่อยเหล่านั้นเข้าด้วยกัน กลายเป็นเครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในกรณีที่มีจำนวนผู้ใช้ในองค์การมาก เครื่องมือพื้นฐานอีกประการหนึ่งของระบบข้อมูล ก็คือ ระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งเป็นโปรแกรมสำคัญในการช่วยดูแลระบบฐานข้อมูลและการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
learners.in.th/blog/wasana2510/261167
ระดับของสารสนเทศ
จากความสำคัญของสารสนเทศ และการหาหนทางที่จะใช้เทคโนโลยีในการจัดการสารสนเทศ ใน พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยประกาศอย่างเป็นทางการให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของระบบข้อมูลซึ่งมีเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเป็นตัวนำ และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและผลักดันให้เกิดการใช้ทรัพยากรณ์ของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านทรัพยากรณ์มนุษย์ วัสดุอุปกรณ์ และเวลา ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รัฐบาลได้ลงทุนโครงการพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นจำนวนมาก เช่น การขยายระบบโทรศัพท์ การขยายเครือข่ายสื่อสาร การสร้างระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ และระบบการจัดเก็บภาษีและศุลกากรด้วยคอมพิวเตอร์aaaaaไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่ให้ความสำคัญเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ หลายประเทศทั่วโลกก็ได้ให้ความสำคัญเช่นกัน และแต่ละประเทศได้ลงทุนทางด้านนี้ไปเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพราะข้อมูลเป็นกลไกสำคัญในเชิงรุก เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้สามารถแข่งขันในระดับสากลได้ อีกทั้งยังเพิ่มคุณภาพชีวิต กระจายความเจริญสู่ชนบท และสร้างความเสมอภาคในสังคมaaaaaสังคมความเป็นอยู่และการทำงานข้องมนุษย์มีการรวมกลุ่มเป็นประเทศ การจัดองค์การเป็นหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน และภายในองค์การต้องมีการแบ่งย่อยกันเป็นกลุ่ม เป็นแผนก เป็นหน่วยงาน ภายในหน่วยงานย่อยก็มีระดับบุคคลaaaaaการทำงานในระบบองค์การหนึ่ง ๆ จะมีความซับซ้อนพอควร ตัวอย่าง เช่น องค์การระดับโรงเรียน ตั้งแต่นักเรียนมอบตัวเข้าเป็นนักเรียนของโรงเรียน จะมีการเก็บบันทึกข้อมูลประวัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตัวนักเรียน เมื่อลงทะเบียนเรียนวิชาต่าง ๆ ก็มีการบันทึกเก็บข้อมูลมีการชำระเงินค่าลงทะเบียน มีการายงานผลการเรียน องค์การระดับโรงเรียนจึงมีข้อมูลมากมายเกี่ยวข้องกับนักเรียน วิชาเรียน การเงิน วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อยู่ในโรงเรียน เช่น อาคารสถานที่ และส่วนที่เชื่อมโยงกับหน่วงงานอื่นในระดับกรม และกระทรวงที่ดูแลโรงเรียนอีกด้วยaaaaaในองค์การเอกชนหรือบริษัท ไม่ว่าจะเป็นองค์การเล็กหรือใหญ่ก็ต้องเกี่ยวข้องกับสารสนเทศด้วยกันทั้งนั้น เกี่ยวข้องกับข้อมูลสินค้า ลูกค้า การค้าขาย การผลิต การว่าจ้าง และการเงิน เป็นต้นaaaaaเมื่อพิจารณาระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในองค์การพอที่จะแบ่งการจัดการสารสนเทศขององค์การได้ตามจำนวนคนที่เกี่ยวข้อง ตามรูปแบบการรวมกลุ่มขององค์การได้ 3 ระดับ คือ ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม และระบบสารสนเทศระดับองค์การ ตามตัวอย่างในรูปที่ www.yupparaj.ac.th/RoomNet2544/pongsak/IT.htm

องค์ประกอบสารสนเทศ


องค์ประกอบของระบบสารสนเทศองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ นักเรียนลองนึกดูว่า ถ้าต้องการประมวลผลรายงานการเรียนของนักเรียนได้อย่าง ถูกต้อง รวดเร็ว ทันการ ระบบการจัดการสารสนเทศนั้น เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ประการแรกคือ บุคลากรหรืออาจารย์ประจำชั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบ หรืออาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชา ประการที่สอง คือ หากมีการบันทึก ข้อมูลก็ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานของอาจารย์เป็นขั้นตอนที่กำหนดไว้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เมื่อไร อย่างไร ประการที่สาม คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องช่วยให้การทำงานให้ผลรวดเร็ว และคำนวณได้แม่นยำถูกต้อง ประการที่สี่ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการได้ ประการสุดท้ายคือ ตัวข้อมูลที่เป็นเสมือนวัตถุดิบที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารสนเทศตามที่ต้องการส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ 1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ)์ 2. ซอฟต์แวร์ 3. ข้อมูล4. บุคลากร5.ขั้นตอนการปฏิบัติงานส่วนประกอบทั้งห้าส่วนนี้ทำให้เกิดสารสนเทศได้ หากขาดส่วนประกอบใด หรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ ก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศ ไม่สมบูรณ์ เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับงาน ก็จะทำให้งานล่าช้า ไม่ทันต่อการใช้งาน การดำเนินการระบบสารสนเทศจึงต้องให้ความสำคัญ กับส่วนประกอบทั้งห้านี้ บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการ ในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิด ระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศได้ ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการ ต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงาน ผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบสารสนเทศ ซอฟต์แวร์ คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ ข้อมูล เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกัน ขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศhttp://www.chakkham.ac.th/technology/homepage/page1.html

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศฮาร์ดแวร์ หมายถึง : อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่งได้และ ให้ผลลัพธ์ตามต้องการ ประกอบด้วยอุปกรณ์ป้อนข้อมูลเข้า (input devices)หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing unit)อุปกรณ์แสดงผล (output devices)อุปกรณ์ความจำสำรอง (Secondary Storage devices) 1.1 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)ทำหน้าที่รับข้อมูลโปรแกรม ต่างๆ ที่ส่งผ่านอุปกรณ์เข้ามาเก็บ ไว้ในหน่วยความจำ ได้แก่ แป้นพิมพ์, เมาส์, Joystick ฯลฯ1.2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือ CPU ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด แบ่งออกเป็น 2 หน่วย คือ1.2.1 หน่วยควบคุม (Control Unit)1.2.2 หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logical Unit)1.2.3 หน่วยความจำ (Memory Unit) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่จำหรือเก็บคำสั่ง และข้อมูลต่างๆ รวมทั้งผลลัพธ์ที่ส่ง มาจากหน่วยคำนวณ หน่วยความจำอาจมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หน่วยเก็บ ข้อมูล1.3 หน่วยแสดงผลเป็นหน่วยที่แสดงผลออกมาทางสื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ จอภาพ, เครื่องพิมพ์, เครื่องเจาะบัตร เป็นต้นซอฟท์แวร์ หมายถึง : ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นจากภาษาคอมพิวเตอร์ ให้เครื่องทำงานได้ตามต้องการในแต่ละงาน แบ่งตามลักษณะการทำงานได้ดังนี้1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้อุปกรณ์อื่นๆ สามารถทำงานประสานกันได้ และควบคุมโปรแกรมภายนอกอื่นๆ ให้สามารถใช้งานได้ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ได้แก่ MS-Dos , Linux, UNIX, Windows ฯลฯ2. โปรแกรมแปลภาษา (Compiler Languages) เป็นโปรแกรมที่แปลภาษาคอมพิวเตอร์ให้เป็น ภาษาเครื่อง3. โปรแกรมประยุกต์ (Application Software) เป็นโปรแกรมที่นักเขียนโปรแกรมเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้ เครื่องทำงานเฉพาะอย่างตามความต้องการของ ผู้ใช้4. โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Program) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อประมวลผลของงานในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ได้แก่ โปรแกรมประมวลคำ (word Processing)โปรแกรมจัดระบบฐานข้อมูล (data Base Management) โปรแกรมทำการคำนวณ (calcutation Program) โปรแกรมสำหรับงานธุรกิจ (Business Program)ขั้นตอนการปฏิบัติงานจากความหมายจะเห็นว่า คอมพิวเตอร์มี ขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอน คือ1. รับโปรแกรมและข้อมูล 2. ประมวลผล 3. แสดงผลลัพธ์ข้อมูล (Data) คือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของ สถานที่ หรือเหตุการณ์ใดๆ ที่สนใจศึกษาข้อมูล แบ่งออกได้ดังนี้1. รหัส (code) คือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนข้อมูล โดยปกติใช้ตัวเลขฐานสอง เช่น 0 ถึง 9 หรือ A ถึง Z2. บิท (Bit) ย่อมาจาก Binary digit คือหลักในเลขฐานสอง ที่มี 6 บิท หรือ 8 บิท ซึ่งอาจใช้เป็นรหัสแทนตัวอักษรได้ เช่น 00010010 แทน A3. ไบท์ (Bye) คือกลุ่มของเลขฐาน อาจจะเป็น 6 บิท 8 บิท ก็ได้ นำมาเป็นรหัสแทนสัญลักษณ์ตัวใด ตัวหนึ่ง เช่น 00000000 (8 บิท) เท่ากับ 1 ไบท์4. ตัวอักขระ (Character) คือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้แทนภาษามนุษย์5. คำ (Word) 6. เขต (Field)7. ระเบียน (Record) 8. ไฟล์ (File) หรือแฟ้มข้อมูลบุคลากร เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามระบบได้ แบ่งออกได้ดังนี้1. นักวิเคราะห์ระบบ (System analysts)2. นักเขียนโปรแกรม (Programmers)3. พนักงานควบคุมคอมพิวเตอร์ (Computer Operaters)4. ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Users Computer)http://www.kkw.ac.th/kkwweb/teacherhead/webpookie/pensil/lesson9.htm

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และขั้นตอนการปฏิบัติงานฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้างซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/napaporn_pr/com/sec03p01.html

ระบบเอทีเอ็ม

ระบบเอทีเอ็ม
ระบบเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) หรือระบบถอนเงิน หรือฝากเงินของธนาคารโดยอัตโนมัติ เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร และเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่ได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ ดัง

ตู้ฝากถอนเงินในระบบเอทีเอ็ม
เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลกเริ่มใช้เมื่อ พ.ศ.2520 โดยธนาคารซิตี้แบงก์ สำนักงานนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ให้บริการฝากและถอนเงินอัตโนมัติแก่ลูกค้า 24 ชั่วโมง รวมเสาร์อาทิตย์ ขณะที่ธนาคารอื่นๆ บนถนนสายเดียวกันบริการได้เฉพาะเวลาปกติเท่านั้น นักวิเคราะห์ระบุว่าเอทีเอ็มของซิตี้แบงก์ดึงลูกค้าจากธนาคารอื่นมาเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดขึ้นเกือบสามเท่าตัว ในเวลาประมาณ 6 เดือน ก่อนที่ธนาคารคู่แข่งจะไหวตัวทันและให้บริการเอทีเอ็มบ้าง
ทุกครั้งที่ลูกค้าใช้บัตรเอทีเอ็มจากตู้เอทีเอ็ม จะมีการสื่อสารข้อมูลไปยังฐานข้อมูลกลางที่สำนักงานใหญ่ของธนาคาร ซึ่งได้บรรจุข้อมูลยอดเงินฝาก และการฝาก การถอนเงินของลูกค้า ฐานข้อมูลนี้เรียกว่า ฐานข้อมูลกลาง และด้วยระบบการสื่อสารข้อมูลในลักษณะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้จากระยะไกล ทั้งคอมพิวเตอร์ยังช่วยจัดการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น การฝาก การโอน และการถอน ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
การประมวลผลอัตโนมัติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายนี้ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความสำคัญของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การและธุรกิจได้อีกมหาศาล
สำหรับประเทศไทย ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นเจ้าแรกที่นำเครื่องฝากและถอนเงินอัตโนมัติ หรือเอทีเอ็ม มาใช้เมื่อ พ.ศ.2526 เรียกว่า บริการเงินด่วน ให้บริการนำฝาก ถอน โอนเงิน และสอบถามยอดบัญชี ยุคแรกเอทีเอ็มเบิกใช้ได้เฉพาะบัญชีธนาคารนั้นๆ จนกระทั่งมีระบบเอทีเอ็มพูล เพียงมีบัตรเอทีเอ็มก็สามารถถอนเงินหรือฝากเงินจากตู้ของธนาคารใดก็ได้
ยุคของอินเตอร์เน็ต เอทีเอ็มกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในระบบการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) โดยเฉพาะในอเมริกาคือระบบธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารที่ไม่มีสาขาเป็นตัวตนอาคาร มีแต่สาขาในอินเตอร์เน็ตก็ได้ ใช้เครื่องเอทีเอ็มเป็นเครื่องมือในการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ
เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของระบบเอทีเอ็ม ก็คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่รวบรวมข้อมูลบัญชีเงินฝากของลูกค้าธนาคารไว้ในฐานข้อมูล กับเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล ทำให้สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ออกไปทั่วเมือง ทั่วประเทศ หรือทั่วโลกได้ ผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มสามารถเบิกเงินจากธนาคารได้จากตู้เอทีเอ็มที่ติดตั้งอยู่ในเกือบทุกหนแห่ง เช่น ในห้างสรรพสินค้า หรือ ตามมุมถนนทั่วไป ทุกครั้งที่ลูกค้าใช้บัตรเอทีเอ็มจากตู้เอทีเอ็ม จะมีการสื่อสารข้อมูลไปยังฐานข้อมูลกลางที่สำนักงานใหญ่ของธนาคาร ซึ่งได้บรรจุข้อมูลยอดเงินฝากและการฝากการถอนเงินของลูกค้า ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะสำคัญที่เรียกว่าเป็นฐานข้อมูลกลาง ในความหมายที่ว่า ลูกค้ามีบัญชีเงินฝากในธนาคารแห่งนั้น ๆ จะมีข้อมูลอยู่ที่ฐานข้อมูลกลางเพียงชุดเดียว และด้วยระบบการสื่อสารข้อมูลในลักษณะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้จากระยะไกล นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยจัดการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น การฝาก การโอน และการถอน ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
เทคโนโลยีฐานข้อมูลกลางทำให้สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้เพียงชุดเดียว ไม่จำเป็นต้องสำเนาหลายชุด สามารถเรียกใช้หรือสั่งการแก้ไขได้จากระยะไกล และเมื่อมีการแก้ไขแล้วทุกคนที่เข้ามาใช้ข้อมูลทีหลังก็จะได้รับข้อมูลที่แก้ไขทันที การประมวลผลอัตโนมัติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายนี้ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความสำคัญของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การและธุรกิจได้อีกมหาศาล
การนำเอาเทคโนโลยีเอทีเอ็มเข้ามาใช้ก่อนเป็นรายแรก สร้างความได้เปรียบเชิงธุรกิจเหนือคู่แข่งเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในเมืองใหญ่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นซิดนีย์ โตเกียว ปารีส และรวมทั้งกรุงเทพฯด้วย กล่าวคือ ธนาคารใดในเมืองเหล่านั้นที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเอทีเอ็มได้ก่อนและให้บริการที่เหนือกว่า ก็สามารถดึงส่วนแบ่งการตลาดได้สูงมากเหนือคู่แข่ง เนื่องจากได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นกลยุทธ์การแข่งขันในแง่การปรับปรุงการบริการแก่ลูกค้า เช่น ปรากฏการณ์ที่ธนาคารไทยพาณิชย์นำระบบคอมพิวเตอร์แบบเชื่อมตรงมาบริการการใช้ เอทีเอ็ม และประสบความสำเร็จได้ก่อนจึงมีโอกาสดึงส่วนแบ่งการตลาดได้สูง เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของระบบเอทีเอ็ม ก็คือ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่รวบรวมข้อมูลบัญชีเงินฝากของลูกค้าธนาคารไว้ในฐานข้อมูล กับเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล ทำให้สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ออกไปทั่วเมือง ทั่วประเทศ หรือทั่วโลกได้ ผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มสามารถเบิกเงินจากธนาคารได้จากตู้เอทีเอ็มที่ติดตั้งอยู่ทั่วไป ทุกครั้งที่ลูกค้าใช้บัตรเอทีเอ็มจากตู้เอทีเอ็มจะมีการสื่อสารข้อมูลไปยังฐานข้อมูลกลางที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารที่เก็บข้อมูล ยอดเงินฝากและรายการฝากถอนเงินของลูกค้า ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะสำคัญที่เรียกว่าเป็นฐานข้อมูลกลาง ในความหมายที่ว่า ลูกค้ามีบัญชีเงินฝากในธนาคารแห่ง นั้น ๆ จะมีข้อมูลอยู่ที่ฐานข้อมูลกลางเพียงชุดเดียว และด้วยระบบการสื่อสารข้อมูลในลักษณะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้จากระยะไกล นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยจัดการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น การฝาก การโอน และการถอน ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เทคโนโลยีฐานข้อมูลกลางทำให้สามารถเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้เพียงชุดเดียว ไม่จำเป็นต้องสำเนาหลายชุด สามารถเรียกใช้และแก้ไขได้จากระยะไกล และเมื่อมีการแก้ไขแล้วทุกคนที่เข้ามาใช้ข้อมูลในภายหลังก็จะได้รับข้อมูลที่ทันสมัย การประมวลผลอัตโนมัติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายนี้ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความสำคัญของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การและธุรกิจได้อีกมากมาย
ระบบเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร และเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่ได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยในปีพ.ศ. 2520 เป็นปีที่มีการใช้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลก ธนาคารซิตี้แบงค์ในเมือง นิวยอร์กเริ่มให้บริการฝากและถอนเงินโดยอัตโนมัติแก่ลูกค้า ซึ่งสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมวันเสาร์อาทิตย์ด้วย ในขณะที่ธนาคารอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ บนถนนสายเดียวกันให้บริการลูกค้าในเวลาปกติเท่านั้น คือ เฉพาะจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 8.00 - 14.00 น. หลังจากบ่ายสองโมงก็หมดโอกาสได้รับบริการฝากถอนเงินแล้ว เมื่อวิเคราะห์มุมมองในการแข่งขันของธนาคารในการให้บริการลูกค้า กล่าวได้ว่า ระบบเอทีเอ็มของ ธนาคารซิตี้แบงค์เป็นบริการใหม่ที่ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย และคล่องตัว ได้ดึงดูดลูกค้าจากธนาคาร อื่นมาเป็นลูกค้าของตัวเอง และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดขึ้นมาเกือบสามเท่าตัวในช่วงเวลาประมาณ 6 เดือน ก่อนที่ธนาคารคู่แข่งจะไหวตัวทัน และหันมาให้บริการเอทีเอ็มบ้าง